“ไม่มีวิธีใดที่ดีกว่าการเรียนรู้ในสถานที่จริง ได้คำแนะนำ คำอธิบายในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในเวลานั้นๆ”
Photography - Field - Trip เรียนรู้ ศึกษาวิถีชีวิตชาวบ้านและทักษะในการถ่ายภาพ ที่ “สี่พันดอน” ลาวใต้ วันที่ 19-23 กรกฎาคม 2567
-
ศึกษาเรียนรู้เพื่อที่จะเข้าไปอยู่ในวิถีชีวิตประจำวันของคนหาปลาที่ "สี่พันดอน"
หนึ่งในพื้นที่เป้าหมายของทริปนี้คือ "บ้านคอนเหนือ" บ้านคอนเหนือ หมู่บ้านริมแม่น้ำโขงในเขต “สี่พันดอน” วิถีชีวิตของผู้คนผูกพันกับสายน้ำโขงมาอย่างยาวนาน กว่าครึ่งหนึ่งของประชากรในหมู่บ้านนี้หาเลี้ยงชีพด้วยการหาปลา ปลาที่ได้จากแม่น้ำโขงไม่เพียงเป็นอาหารหลัก แต่ยังเป็นปัจจัยสำคัญในการเลี้ยงดูครอบครัว วิถีชีวิตการหาปลาที่นี่มีความซับซ้อนและยากลำบาก ด้วยสภาพพื้นที่ที่แม่น้ำโขงไหลผ่านเป็นเกาะแก่ง โขดหินน้ำเชี่ยว ประสบการณ์และภูมิปัญญาในการหาปลาที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นจึงเป็นสิ่งสำคัญ
นอกจากนี้ เรามีความตั้งใจที่จะนำเสนอวิถีชีวิตของชาวประมงริมน้ำโขงในดินแดนนี้ และปัญหาที่พวกเขากำลังเผชิญอยู่ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่มีผลต่อปริมาณและความหลากหลายของปลา พร้อมกับผลกระทบจากเขื่อนที่กั้นการไหลของแม่น้ำโขง ที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในพื้นที่นี้ การศึกษาและการถ่ายภาพเหล่านี้จะเป็นส่วนสำคัญของทริปนี้เพื่อให้เห็นภาพแบบเต็มรูปแบบของวิถีชีวิตและอุปสรรคของชุมชน - ตัวอย่างภาพชีวิตประจำวัน
-
“ดอนเดด” จากอดีตหมู่บ้านคนหาปลาพัฒนามาเป็นชุมชนแหล่งท่องเที่ยวหลักที่ “สี่พันดอน”
พวกเราจะใช้เวลาส่วนหนึ่งที่ดอนเดด สถานที่ๆมีความแตกต่างพัฒนาจากดอนคอน เกาะที่เราจะใช้เวลาส่วนใหญ่ประจำกันอยู่ที่นั่น ดอนเดดที่ในอดีตด้านหัวเกาะเคยเป็นหมู่บ้านคนหาปลาจนถึงปัจจุบันได้พัฒนามาเป็นสถานที่ตั่งของโรงแรม รีสอรท์และบ้านพักมากมายและชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านที่ดอนเดดเวลานี้ได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมาก
อดีตอันเงียบสงบของดอนเดด กำลังถูกแทนที่ด้วยความคึกคักของนักท่องเที่ยวที่ ดอนเดด บนเกาะนี้มีทั้งร้านค้า ร้านอาหาร และคาเฟ่ เต็มไปด้วยนักท่องเที่ยว ชาวบ้านที่ดอนเดดก็มีชีวิตที่หันมาสู่ธุรกิจท่องเที่ยว เช่น เป็นเจ้าของที่พัก ขายของที่ระลึก หรือรับจ้างขับรถพาเที่ยว ดอนเดดเป็นศูนย์กลางท่องเที่ยวที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆในเขต “สี่พันดอน” นี้ ท่องเที่ยวมีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจของชุมชน การเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนของวิถีชีวิตที่ดอนเดดได้ประสบ เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจที่นำเสนอได้อย่างชัดเจน
-
ชีวิตประจำวันของชาวบ้านในเขต “สี่พันดอน” นั้นเชื่อมต่อกับภูมิประเทศได้อย่างใกล้ชิด ที่นี่คือที่ๆเราจะเรียนรู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับแม่น้ำโขงอย่างชัดเจน
เมื่อรุ่งสางเริ่มขึ้นในเขต "สี่พันดอนและหมู่บ้านคอน" หมู่บ้านสุดท้ายของประเทศลาวติดกับแม่น้ำโขงกั้นระหว่างประเทศลาวกับกัมพูชา เสียงเรือหางยาวเริ่มต้นดังขึ้นอย่างเป็นประจำทุกวัน เสียงซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของชีวิตประจำวันของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำนี้ พวกเขาคือชาวบ้านที่พาเรือหางยาวออกไปตรวจสอบแหล่งอาหารของพวกเขาทุกเช้าโดยใช้ประสบการณ์และความชำนาญในการล่องเรือผ่าระหว่างร่องน้ำที่เชี่ยวกราดและโขดหินมากมายในแม่น้ำโขงในที่นี่ การดำเนินชีวิตแบบนี้คือวิถีชีวิตประจำวันของพวกเขาเพื่อความอยู่รอดและเลี้ยงดูครอบครัวและชุมชนของพวกเขา
ในทริป workshop ครั้งนี้ เราจะพาตัวเราเข้าไปสังเกตและใช้ชีวิตร่วมกับชาวบ้านในเขต "สี่พันดอนและหมู่บ้านคอน" เดินทางไปยังที่ซึ่งเป็นแหล่งอาหารและรายได้หลักที่ได้มาจากการหาปลา ติดตามพวกเขาไปยังเกาะต่างๆ เพื่อที่เราจะได้พบกับสถานที่ที่เป็นแหล่งให้เกิดชีวิตและอาหารของชาวบ้านเหล่านี้ซึ่งหลายๆพื้นที่ยังไม่เคยรู้จักกันในโลกภายนอก
การเข้าถึงชีวิตภูมิประเทศชองแม่น้ำโขงในเขต "สี่พันดอนและหมู่บ้านคอน" ในทริปนี้จะช่วยให้เราเข้าใจเรื่องความเป็นอยู่และวัฒนธรรมของพวกเขามากขึ้น เป็นสิ่งที่จะทำให้เรารู้เกี่ยวกับความสำคัญและความผูกพันของชาวบ้านที่ต้องอาศัยอยู่ในทรัพยากรธรรมชาติจากแม่น้ำโขงในการเลี้ยงครอบครัวของพวกเขา - ตัวอย่างภาพวิถีชีวิตหาปลาของชาวบ้านและภูมิประเทศ
ปิยะวิทย์ ทองสอาด (Piyavit Thongsa-Ard) ช่างภาพอิสระที่ทำงานถ่ายภาพในรูปแบบภาพงานข่าวและสารคดีที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางสังคม การเมือง สิทธิมนุษยชน ความขัดแย้งและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เชี่ยวชาญการถ่ายภาพขาวดำและสี โดยใช้สื่อดิจิทัลและอนาล็อก
เริ่มถ่ายภาพให้องค์กรระหว่างประเทศต่างๆในฐานะช่างภาพสัญญาจ้างตั่งแต่ปี 1993 อาทิเช่น GIZ (องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน) และ UN Women (ปี 2015-2020) และช่วงระหว่างปี 2004-2005 มีส่วนร่วมในเอเจนซี่ภาพถ่าย Demotix & Corbis Images งานภาคสนามของเขาครอบคลุมประเทศพม่า สปป. ลาว เวียดนาม กัมพูชา พม่า อินเดีย (พิหาร กัลกัตตา ปี 2003) ปากีสถาน (เปชาวาร์ กันยายน ปี 2001) ฟิลิปปินส์ และเนปาล
ปี 2013 มีส่วนร่วมในงานบรรเทาทุกข์ด้านมนุษยธรรมในเหตุการณ์ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน ประเทศฟิลิปปินส์โดยทำหน้าที่เป็นช่างภาพให้กับ WFP (World Food Programme โครงการอาหารโลก)
ปิยะวิทย์ได้ทำนิทรรศการชั้นนำสองครั้งที่ FCCT (ชมรมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย) นอกจากนี้ เขายังเป็นหนึ่งในช่างภาพสองคนของทีมถ่ายภาพนิ่ง ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงวิดีโอออนไลน์แห่งปีของ World Press Photo เรื่อง "To Calm the Pig Inside" และได้รับรางวัลที่ 2 ในประเภท "Long" (การเล่าเรื่องในเวลาไม่เกิน 30 นาที) ของการประกวดเล่าเรื่องดิจิทัลด้วยภาพถ่ายสื่อมวลชนโลกประจำปี 2021
ปี 2022 ได้ถ่ายภาพโครงการโรงพยาบาลเมืองโขงใน สปป. ลาว ภายใต้การอุปถัมภ์ของสหภาพยุโรป ของ WHO และเป็นช่างภาพให้กับงานข่าวของหนังสือพิมพ์ NZZ (Neue Zürcher Zeitung) จากประเทศสวิตเซอร์แลนด์เกี่ยวกับแม่น้ำโขง
ปี 2023 เป็นช่างภาพให้กับงานข่าวของหนังสือพิมพ์ NZZ (Neue Zürcher Zeitung) เกี่ยวกับผลกระทบอย่างหนักในลาวจากสาเหตุค่าเงินตกต่ำ
ผลงานถ่ายภาพของปิยะวิทย์ ทองสอาด ได้รับการเผยแพร่ในสื่อสิ่งพิมพ์ชั้นนำของไทยและต่างประเทศ รวมถึง Far Eastern Economic Review, Time Asia, Geo Magazine (ฉบับภาษาเยอรมันและรัสเซีย), BBC (ภาษาไทย), The New York Times Blog และที่โดดเด่นคือผลงานของเขาได้ขึ้นปก ของ "Another Quiet American" (หนังสือนักเขียนอิสระ) ผลงานล่าสุดของเขาในปี 2023 ได้รับการตีพิมพ์โดยหนังสือพิมพ์ Neue Zürcher Zeitung (NZZ - สวิตเซอร์แลนด์) และ WHO (ผ่านสำนักงานเอเจนซี่ BLINK ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในนิวยอร์ก)
ปิยะวิทย์ อาศัยอยู่ที่อุบลราชธานี ประเทศไทย และดอนคอน จำปาศักดิ์ สปป. ลาว เขายังทำงานในโปรเจ็คส่วนตัวเกี่ยวกับ "ปีแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วสำหรับแหล่งโปรตีนหลักในลาว" โครงการนี้ครอบคลุมพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของสี่พันดอนซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของ สปป. ลาว บางส่วนของจีนตอนใต้ และบางพื้นที่ของกัมพูชา